เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ และอธิบายความสำคัญของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา รวมทั้งนำคำเหล่านั้นมาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๐ – ๒๔
ก.พ.
๒๕๖๐
วรรณกรรมเรื่อง :
แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน นางบาป
หลักภาษา :  คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
Key Questions :
- นักเรียนคิดอย่างไรกับการลักขโมยของ ไม่ว่าจะเป็นของชิ้นน้อย หรือของชิ้นใหญ่ก็ตาม
- นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับการใช้คำนาม คำสรรพนาม คำกริยาให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำศัพท์คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : แสดงบทบาทสมมติ
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ
- บัตรคำ
วันจันทร์
ชง
ครูและนักเรียนอ่านแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน นางบาป ไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)

ใช้
นักเรียนจับคู่เขียนสรุปวรรณกรรมในรูป Web ในหัวข้อ ตัวละคร เรื่องย่อ ข้อคิด คำถาม และคำศัพท์ใหม่
วันอังคาร
ชง
- ครูนำบัตรคำต่างๆ มาให้นักเรียนอ่านสะกดคำตาม ๑ รอบ จากนั้นนำไปติดไว้บนกระดานคละๆ กันให้เต็มกระดาน
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม เล่นเกมจัดหมวดหมู่คำ(คำนาม : คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่) โดยจะส่งตัวแทนกลุ่มมาช่วยจัดที่ละคนจนครบจำนวน
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังเล่นเกม และแชร์คำที่จัดหมวดหมู่ร่วมกันในวงใหญ่ พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง
- นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่ร่วมกันจัดหมวดหมู่ลงในสมุด
วันพุธ
ชง
- ครูพานักเรียนเล่นแปลงท่าทางไปตามอารมณ์ เช่น ดีใจ เศร้า เสียใจ ร้องไห้ โกรธ เป็นต้น
- ครูนำสลากคำกริยามาให้นักเรียนแต่ละคนจับ คนละ ๑ ใบ จากนั้นแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม เตรียมการแสดงบทบาทสมมติสั้นๆจากคำที่แต่ละคนจับได้ โดยครูให้เวลานักเรียนซ้อม ๑๕ นาที
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติจนครบทุกกลุ่ม
เชื่อม
 ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจบการแสดงของทุกกลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันเพิ่มเติม เสนอแนะสิ่งที่ดีแล้ว และสิ่งที่ควรเพิ่มเติมให้กันและกัน
วันพฤหัสบดี
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสามารถใช้คำเรียกแทนตัวเอง เรียกแทนผู้อื่นได้อย่างไรบ้าง”
- นักเรียนร่วมกันเสนอความคิดเห็น ครูเขียนคำตอบของนักเรียนไว้บนกระดาน
- นักเรียนจับคู่ค้นหาคำนาม คำสรรพนาม คำกริยาจากในวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ให้ได้มากที่สุดในเวลา ๒๐ นาที
เชื่อม
 ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ที่แต่ละคู่หาได้ในวรรณกรรม และสรุปการใช้คำเหล่านี้ให้ถูกต้องตามหลักการใช้งาน

วันศุกร์
ชง
นักเรียนเขียนตามคำบอกจากคำในวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ จำนวน ๒๐ คำ เพื่อเป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และทบทวนสิ่งที่ได้เรียนทั้งสัปดาห์
ใช้
นักเรียนเลือกคำมาแต่งประโยค ๕ ประโยค
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา
- การแสดงบทบาทสมมติจากคำกริยา
- การทำงานร่วมกันในการจัดหมวดหมู่ และค้นหาคำศัพท์ในวรรณกรรม
ชิ้นงาน
- เขียนสรุปเรื่องในรูปแบบ Web
- เขียนแต่งประโยค
- แสดงบทบาทสมมติ

ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจ และอธิบายความสำคัญของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา รวมทั้งนำคำเหล่านั้นมาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ตัวอย่างภาพกิจกรรม


ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ ๗ ของการเรียนรู้ ปรากฏการณ์พิเศษที่พบระหว่างทาง เห็นความพยายามในการอ่านวรรณกรรมมาก เพราะตอนแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำเป็นตอนที่ยาวมาก แต่ทุกคนก็พยายามที่จะอ่านในคาบให้ได้เยอะที่สุด และกลับไปอ่านต่อที่บ้านจนจบ เห็นถึงความกระตือรือร้นในการอ่านมากยิ่งขึ้น และอีกสิ่งหนึ่งที่ประทับใจ คือ นักเรียนทุกคนเตรียมที่กับการแสดงมากๆ ถ้าได้พูดถึงการแสดง นักเรียนจะเต้นตื่นเต้น และกระตือรือร้นในการซ้อมมาก มากจนบ้างครั้ง ครูต้องคอยเตือน เพราะนักเรียนยังเด็ก แต่จากที่ได้ชมการแสดง ก็พบว่านักเรียนทุกคนพร้อม มีการเตรียมตัว และเต็มที่กับการแสดงของตนเอง แต่ที่ยังทำได้ไม่เต็มที่ เป็นข้อจำกัดเป็นเรื่องของเวลา ซึ่งตัวครูยังกะระยะเวลาเพื่อให้นักเรียนเตรียมตัวยังไม่ได้ ทำให้บางกลุ่มต้องติดไว้ก่อน ถ้าจะดีกว่านี้คือครูกำหนดเวลาให้ชัดเจน เพื่อความไหลลื่นของการทำงานต่างๆ

    ตอบลบ