เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ ความสำคัญและสามารถแยกแยะคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ได้ และสามารถนำคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์มาแต่งเป็นประโยค เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๖ – ๑๐
ก.พ.
๒๕๖๐
วรรณกรรมเรื่อง :
- แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน ผีขาเขียว
หลักภาษา : คำที่ประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
Key Questions :
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรหลังจากที่อ่านวรรณกรรม
- นักเรียนจะอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับ
คำที่ประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ได้อย่างไร และจะนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตัวอย่างคำที่ประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำที่ประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน 
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ
- บัตรคำ/บัตรภาพ
วันจันทร์
ชง
 ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน ผีขาเขียว ไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
-
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้

นักเรียนเขียนสรุปในรูปแบบ Web หัวข้อ(ตัวละคร ฉาก เรื่องย่อ และข้อคิด)
วันอังคาร
ชง 
นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่มเรียงเป็นแถว ครูทายคำปริศนาให้นักเรียนทาย (เกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์) โดยนักเรียนที่เป็นตัวแทนคนแรกออกไปเขียนคำตอบไว้บนกระดาน แล้วกลับมาต่อหลังเพื่อนคนสุดท้าย
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์ที่ได้เล่นเกม พาสะกดคำอ่านออกเสียง และเพิ่มเติมคำศัพท์ใหม่ที่นักเรียนพบ โดยให้นักเรียนบอกคำที่มีสระอะที่ตนเองรู้จักทีละคน
ใช้
นักเรียนเลือกที่เป็นคำประวิสรรชนีย์ ๔ คำ นำมาทำบัตรภาพลงในสมุด

วันพุธ
ชง
- ครูนำบัตรคำที่เป็นคำประวิสรรชนีย์กับไม่ประวิสรรชนีย์จากในวรรณกรรมมาให้นักเรียนสังเกต และอ่านออกเสียงตาม พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้มีอะไรที่เหมือนหรือแตกต่างกัน”
- นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่คำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ลงในชาร์ทตาราง
เชื่อม
 ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่คำ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
ใช้
นักเรียนค้นหาคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ จากหนังสือแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ คนละ ๖ คำ แล้วนำมาแต่งประโยค พร้อมวาดรูปตกแต่งให้สวยงาม
วันพฤหัสบดี
ชง
- ครูนำจานกระดาษทรงกลมมาให้นักเรียนคนละใบ จากนั้นให้นักเรียนตีช่องให้ได้ ๘ ช่อง
- หลังจากตีช่องเสร็จ ครูให้นักเรียนคิดคำที่เป็นคำประวิสรรชนีย์ ๔ คำ,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ ๔ คำ ในแต่ละช่องครูจะให้เวลาคิดช่องละ ๒๐ วินาที เมื่อเขียนเสร็จให้นักเรียนวาดภาพประกอบให้สวยงาม
เชื่อม
 ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับคำที่นักเรียนเขียนลงในจานกระดาษ และให้นักเรียนนำเสนอจานกระดาษสะสมคำศัพท์ของตนเอง

วันศุกร์
เชื่อม
 ครูและนักเรียนทบทวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องคำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง โดยให้นักเรียนแต่ละคนออกมาเขียนคำที่ตนเอง
ใช้
 นักเรียนเลือกคำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์อย่างละ ๓ คำ มาแต่งเป็นนิทานตามจินตนาการ พร้อมกับวาดภาพประกอบให้สวยงาม

ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
- การทำงานร่วมกันค้นหาคำศัพท์ในวรรณกรรม
การเขียนแต่งเรื่องราวตามจินตนาการโดยเลือกคำที่ประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
ชิ้นงาน :
- เขียนสรุปเรื่องแบบ Web
- เขียนแต่งนิทานสร้างสรรค์
- บัตรภาพประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจ ความสำคัญและสามารถแยกแยะคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ได้ และสามารถนำคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์มาแต่งเป็นประโยค เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ
:
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ตัวอย่างภาพกิจกรรม
 



ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๕ แห่งการเรียนรู้ ในสัปดาห์นี้จะมีแบบทดสอบความสามารถทางการอ่าน และการเขียนจาก สพฐ. แบบทดสอบครั้งนี้ยากกว่าครั้งที่แล้วมาก การอ่านมีทั้งการอ่านสะกดคำ การอ่านเป็นคำ การอ่านข้อความสั้นๆ และอ่านข้อสอบแบบเลือกตอบเอง ซึ่งนักเรียนชั้นป.๑ ไม่เคยทำเลย ครั้งแรกที่ให้นักเรียนลองทำ ปรากฏว่านักเรียนบางส่วนพอเข้าใจ และทำได้บ้าง หลังจากอธิบายรายละเอียดต่างๆ และลองพาทำก่อนการทดสอบอีกครั้ง นักเรียนเข้าใจมากขึ้น รู้ว่าจะตอบทำแบบไหน และหลังจากที่ให้ทำแบบทดสอบจริง การเขียน นักเรียนสามารถทำได้ดีขึ้น การอ่านนั้นมีหลายชุด ทำให้การทดสอบผ่านไปอย่างล่าช้า แต่ผลที่ออกมา นักเรียนสามารถอ่านได้คล่องขึ้นจากครั้งก่อน การทำแบบทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางการอ่านนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถวัดความสามารถปัจจุบันของนักเรียนได้ ได้รู้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดตรงไหน ต้องเพิ่มเติมอะไรให้ต่อไป เมื่อรู้ว่านักเรียนแต่ละคนมีความสามารถระดับไหนแล้ว ครูจะได้เตรียมนักเรียนให้พัฒนาต่อไปได้ถูกทาง

    ตอบลบ