เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเรื่องการผันอักษร สามารถผันได้ตรงรูปตรงเสียง นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถอธิบายถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
 ๑๖ – ๒๐
ม.ค.
๒๕๖๐
วรรณกรรมเรื่อง :
แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน คนเลี้ยงควาย
หลักภาษา  : การผันอักษร
Key Questions :
- ถ้าหากนักเรียนเป็นคนเลี้ยงควาย นักเรียนจะตัดสินใจอย่างไร
- นักเรียนจะอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการผันอักษรของตัวเองได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตารางผันอักษร และกลอนอักษรกลาง
- Show and Share : นำเสนอถุงมือวิเศษผันอักษร
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน คนเลี้ยงควาย
- แผงไข่ผันอักษร
- บัตรภาพ/บัตรคำ
- ถุงมือวิเศษ
วันจันทร์
ชง  
ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน คนเลี้ยงควาย ไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
-
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
- นักเรียนเขียนสรุปย่อความ(ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร) และวาดภาพประกอบ
วันอังคาร
ชง
ครูพานักเรียนทำถุงมือวิเศษ โดยให้นักเรียนใช้ฝามือของตนเองทำเป็นเสมือนตารางใช้ผันอักษร(สามัญ เอก โท ตรี จัตวา) พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
- ครูให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ในวรรณกรรม คนละ ๓ คำ นำมาเขียนผันอักษรลงบนถุงมือวิเศษ และผันอักษรไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณยุกต์ในภาษาไทย และการผันอักษรตามวรรณยุกต์(สามัญ เอก โท ตรี จัตวา)
ใช้
นักเรียนทำใบงานผันอักษรกลาง

วันพุธ
ชง
- ครูพานักเรียนเล่นเกมผันอักษรผ่านแผงไข่ โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ๕ กลุ่ม มีชุดอุปกรณ์ให้คือ แผงไข่ กระดาษ ปากกาสี และไม้ไอศกรีม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มจับสลากคำ ๕ คำ(อักษรกลาง) เพื่อนำไปใช้ในการผันอักษร
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันหลังเล่นเกม การใช้วรรณยุกต์ตามรูป และตามการออกเสียง นักเรียนเขียนสิ่งที่ช่วยกันผันอักษรลงในสมุด

วันพฤหัสบดี
ชง
 ครูนำกลอนอักษรกลาง และตารางอักษรสามหมู่มาให้นักเรียนดู และอ่านตาม โดยครูอ่านให้ฟัง ๑ รอบ นักเรียนอ่านตามทีละท่อน จากนั้นครูและนักเรียนอ่านพร้อมๆ กัน
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ครูพานักเรียนอ่านออกเสียง และเติมคำลงในตารางผันอักษร โดยนำถุงมือวิเศษมาช่วยในการผันอักษร
- นักเรียนทำแบบฝึกเติมคำผันอักษร โดยครูกำหนดคำให้ ๕ คำ
วันศุกร์
ชง
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผันอักษร การใช้วรรณยุกต์ตามรูป และตามการออกเสียงที่ถูกต้อง จากนั้นให้นักเรียนเขียนตามคำบอกคำพื้นฐาน ๑๐ คำ

เชื่อม
 ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนตามคำบอก
ใช้ : นักเรียนเลือกคำศัพท์มา ๓ คำ แต่งประโยค พร้อมกับวาดภาพประกอบ
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
- การทำกิจกรรมกลุ่ม ช่วยกันคิดคำผันอักษร
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน :
- เขียนสรุปเรื่องย่อ
- เขียนตารางผันอักษร
- ถุงมือผันอักษร
- เขียนตามคำบอก และแต่งประโยค
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจเรื่องการผันอักษร สามารถผันได้ตรงรูปตรงเสียง นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถอธิบายถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ตัวอย่างภาพกิจกรรม


ตัวอย่างภาพชิ้นงาน
สรุปหลังจากที่อ่านแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน ชายเจ็ดพี่น้อง

ถุงมือวิเศษช่วยในการผันวรรณยุกต์ และนำคำที่มีความหมายมาแต่งประโยค

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ ๒ ของการเรียนรู้ ปรากฏการณ์พิเศษที่พบ หรือเรื่องที่ประทับใจในความงอกงามของพี่ๆ เริ่มตั้งแต่การให้สรุปหลังการอ่าน ลองให้พี่ๆ สรุปเป็น Web ในหัวข้อการเรื่องย่อ และข้อคิด ปรากฏว่าพี่บางส่วน เข้าใจและสามารถย่อเรื่องได้ ไม่ใช่เขียนลอกจากวรรณกรรม แต่พี่ๆ ส่วนหนึ่งก็ยังตามใช้เวลา และการฝึกเช่นเดียวกัน เห็นความงอกงามในการอ่าน และการเขียนที่ทำได้ดีขึ้น แต่พี่บางคน ไม่กล้าที่จะอ่าน เขียน เพราะกลัวว่าตัวเองจะเขียนผิด อ่านผิด และบางคนขี้เกียจที่จะอ่าน ยังห่วงเล่นอยู่ ซึ่งก็เป็นตามช่วงวัยของเขา อยากเพิ่มเรื่องการอ่าน และการเขียนให้มาขึ้น จึงมีบางวันที่ฝึกการอ่าน การเขียน ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามแผน การฝึกต่อไปนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พี่ๆ อ่านออก เขียนได้ พร้อมที่จะเป็นพี่ ป.๒ ต่อไป

    ตอบลบ