เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถอ่าน เขียน แยกอักษรนำที่มี ห นำ และ อ นำได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู เขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๐ – ๒๔
ก.พ.
๒๕๖๐
วรรณกรรมเรื่อง : แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน ไฟไหม้แผ่นดิน
หลักภาษา : อักษรนำ
Key Questions :
- ถ้าเราไม่คิดทบทวนก่อนตัดสินใจ ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับอักษรนำให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตัวอย่างอักษรนำ
-
 Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนลักษณะ การอ่าน การใช้อักษรนำ
- พฤติกรรมสมอง

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- สลากอักษรนำ

- บิงโกอักษรนำ
แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ
วันจันทร์
ชง
นักเรียนอ่านวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน ไฟไหม้แผ่นดิน โดยอ่านออกเสียง และเว้นวรรคคำที่ถูกต้องพร้อมๆ กัน
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ
 : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์
 : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้
 : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า
 : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ) 
ใช้

นักเรียนเขียนสรุป โดยให้นักเรียนเลือกตัวละครที่ชื่นชอบ ๕ ตัว นำมาแต่งประโยคหรือแต่งเรื่องใหม่
วันอังคาร
ชง
ครูพานักเรียนทำกิจกรรมสอยดาวคำศัพท์อักษรนำ โดยครูดึงคำศัพท์มาจากวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน ไฟไหม้แผ่นดิน และคำที่ใช้บ่อย จากนั้นครูจะให้นักเรียนเลือกสอยดาวได้คนละ ๑ ครั้ง เมื่อได้คำศัพท์แล้ว ให้นักเรียนอ่านคำของตนเอง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำศัพท์ที่นักเรียนแต่ละคนได้ ใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้มีอะไรที่เหมือนกัน และมีอะไรที่ต่างกัน”
ใช้
 นักเรียนคิดคำศัพท์ที่มี ห นำเพิ่มอีก ๔ คำ และทำบัตรภาพลงในกระดาษที่ครูเตรียมไว้ให้
วันพุธ
ชง
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม เล่นเกมบิงโกอักษรนำ โดยครูให้เวลาในการเล่น ๓ รอบ เมื่อเล่นเสร็จ ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่มี ห นำจากในวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ คนละ ๕ คำ
เชื่อม 
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากเล่นเกมบิงโก และอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับอักษรนำ
ใช้ : นักเรียนนำคำที่ตนเองค้นหามาแต่งประโยค พร้อมตกแต่งให้สวยงาม
วันพฤหัสบดี
ชง
- ครูเขียนคำที่มี ห นำ ล ว น ไว้บนกระดาน แต่ลบพยัญชนะบางตัวออก เพื่อให้นักเรียนออกมาเติมคำให้สมบูรณ์
-
นักเรียนออกมาเติมคำให้สมบูรณ์ และตรวจเช็คความถูกต้องอีกครั้งไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำที่มี ห นำ ล ว น และอื่นๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน แล้วเขียนคำศัพท์คำที่มี ห นำ ล ว น อย่างละ ๕ คำลงในสมุด
วันศุกร์
เชื่อม
 - นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม ให้นักเรียนเขียนบทสนทนาสั้นๆ ที่มีคำที่เป็นอักษรนำ โดยมีการกำหนดเวลาชัดเจน
- นักเรียนแสดงบทบาทสมมติ ในเวลา ๒ นาที
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนร่วมกันและช่วยกันทบทวนคำที่แต่ละกลุ่มใช้ในการแสดง และทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
ใช้
ให้นักเรียนเขียนสรุปทำการ์ตูน ๓ ช่อง จากคำที่ครูกำหนดให้ ๕ คำ(ใหญ่ หลบ แหวน หมวก หนู)
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
- การอ่านประโยคที่มีอักษรนำ
- การทำงานร่วมกันในการเล่นเกมบิงโก และค้นหาคำในวรรณกรรม
- การเขียน
ตามคำบอกคำที่มีอักษรนำ
การนำเสนอการ์ตูนช่องที่มีคำอักษรนำ
ชิ้นงาน :
- เขียนสรุปเป็นการแต่งประโยค
- บัตรคำศัพท์
- เขียนการ์ตูน ๓ ช่อง
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจและสามารถอ่าน เขียน แยกอักษรนำที่มี ห นำ และ อ นำได้ สามารถเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู เขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ตัวอย่างภาพกิจกรรม




ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ ๖ ของการเรียนรู้ หลังจากที่ลองแบ่งกันฝึกอ่าน ทำให้ครูวัดความสามารถทางการอ่านรายบุคคลได้ง่ายขึ้น พี่ผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มอ่านคล่อง ส่วนพี่ผู้ชายมีทั้งที่อ่านคล่อง และยังต้องใช้เวลาในการสะกดอ่านคำ แต่ทุกคนที่ได้ฟังเรื่องราวสามารถเล่าตามที่ตนเองเข้าใจได้ดี มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ ไปจนถึงบอกข้อคิดได้ สัปดาห์นี้ลงหลักภาษาเป็นคำที่มี ห นำ เตรียมกิจกรรมสอยดาวคำศัพท์ นักเรียนสนุก กระตือรือร้นในการเล่น พร้อมๆกับคิดคำใหม่เพิ่มเติมไปด้วย แต่นักเรียนบางส่วนยังสับสนระหว่างคำที่มี ห นำ กับคำควบกล้ำ นักเรียนจะจำสับสนกันมาก เห็นความกระตือรือร้นในการแต่งเรื่องราวใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนมากขึ้น อย่างเช่น ครู : กำหนดคำ ห นำ ๕ คำให้นักเรียนเขียนเป็นการ์ตูน พี่ต้นกล้า: ครูครับผมคิดออกแล้ว เร็วๆ ครับ พี่โอบอ้อม : หนูคิดเรื่องได้ทั้ง ๕ คำแล้วค่ะ นักเรียนจะมีความสุขกับการแต่งเรื่องมาก ถ้าเรื่องไหนที่นักเรียนชอบเขาจะทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตอนนี้มีปัญหานักเรียนเขียนไม่ถูกเยอะ จะดีกว่านี้ถ้าทุกครั้งที่นักเรียนเขียนผิด ครูจะต้องคอยบอกพาสะกด และตรวจสอบคำเหล่านั้น

    ตอบลบ