เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ และสามารถอธิบายความสำคัญของคำที่เกิดจากการใช้สระคงรูป สระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป และสามารถอ่าน และนำคำนั้นมาใช้เขียนงานในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๓ – ๒๗
ม.ค.
๒๕๖๐
วรรณกรรมเรื่อง :
แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน
เตมิญะ
หลักภาษา : สระคงรูป สระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป
Key Questions :
- ถ้าหากนักเรียนเป็นเตมิญะ นักเรียนจะทำอย่างไร
- นักเรียนจะสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องสระคงรูป สระลดรูป และสระเปลี่ยนรูปให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : การสะกดคำในการเปลี่ยนรูปสระ และลดรูปสระ
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้สระเปลี่ยนรูป และสระลดรูป
- Web : สรุปวรรณกรรม และสะสมคำศัพท์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ
- บัตรภาพ/บัตรคำ
วันจันทร์
ชง  
ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน เตมิญะ ไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
-
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
- นักเรียนเขียนสรุปในรูปแบบ
Web หัวข้อ(ตัวละคร ฉาก เรื่องย่อ และข้อคิด)
วันอังคาร
ชง
นักเรียนแบ่งกลุ่ม ครูพานักเรียนเล่นเกมใบ้คำที่เป็นสระเปลี่ยนรูป(-ะ ,เ-ะ ,แ-ะ) จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากที่ได้เล่นเกม นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้ใช้สระอะไรในการสะกด มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ใช้ในการเล่นเกม พานักเรียนอ่าน และสะกดคำศัพท์ให้นักเรียนเห็นรูปในการสะกด จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสระอะ เอะ แอะ ถึงเปลี่ยนรูปไปใช้สระอื่น และสระตัวเดิมหายไปไหน”
- ครูและนักเรียนช่วยกันหาคำตอบ และให้นักเรียนค้นหาคำที่เป็นสระเปลี่ยนรูปในวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอนเตมิญะ เลือกมา ๕ คำ แล้วนำมาแต่งประโยค

วันพุธ
ชง
- ครูนำจรวดกระดาษมาให้นักเรียนดู จากนั้นเขียนสระโอะไว้ตรงกลางจรวด เขียนพยัญชนะบนปีกทั้งสองข้าง เช่น ด โอะ ม จะได้คำว่า ดม ครูพาสะกดคำสระโอะไปเรื่อยและเขียนคำเหล่านั้นบนกระดาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสระโอะไปไหน ทำไมมันถึงหายไป”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสระลดรูป ทั้งสระโอะ และสระอัว ช่วยกันหาคำตอบของการลดรูป รวมทั้งคิดคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มเติม
ใช้
นักเรียนเขียน Web สะสมคำศัพท์สระโอะ และสระอัว อย่างละ ๑๐ คำ

วันพฤหัสบดี
ชง
 นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ครูพาเล่นเกมทบทวน โดยครูเป็นผู้พูดหัวข้อ และคนเริ่มต้น เช่น ครูพูดว่า “ให้พูดคำที่มีสระอะ(เปลี่ยนรูป) รัก” นักเรียน “กับ,กัด,ขับ,จับ ฯลฯ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ตอบผิด ครูจะเป็นหัวข้อไปเรื่อยๆ
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากเล่นเกมทบทวนสระต่างๆ ทั้งเปลี่ยนรูป และสระลดรูป
- นักเรียนวาดการ์ตูน ๔ ช่อง เกี่ยวกับสระเปลี่ยน และสระลดรูป

วันศุกร์
ชง
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ เรื่องสระเปลี่ยนรูป และสระลดรูป จากนั้นให้นักเรียนเขียนตามคำบอกคำพื้นฐาน ๑๐ คำ
เชื่อม
 ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนตามคำบอก และนักเรียนวาดภาพประกอบให้สวยงาม

ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
- การร่วมกลุ่มค้นหาคำที่ใช้สระคงรูป สระลดรูป และสระเปลี่ยนรูปในวรรณกรรม
ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกันสัปดาห์นี้
- การเขียนสรุปวรรณกรรมที่อ่านในรูปแบบ Web
ชิ้นงาน :
- เขียนสรุปในรูปแบบ Web
- เขียน Web สะสมคำศัพท์
- เขียนการ์ตูน ๔ ช่อง
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจ และสามารถอธิบายความสำคัญของคำที่เกิดจากการใช้สระคงรูป สระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป และสามารถอ่าน และนำคำนั้นมาใช้เขียนงานในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ตัวอย่างภาพกิจกรรม







ตัวอย่างภาพชิ้นงาน

 



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๓ ของการเรียนรู้ ในสัปดาห์นี้ และต่อไปในวันจันทร์จะเป็นคาบของครูอะกิ ที่เข้ามาสอนภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นชั่วโมงภาษาไทยจะเหลือเพียง ๔ คาบ ครูจึงปรับเปลี่ยนการสอนใหม่ โดยย้ายมาอ่านวรรณกรรมในวันอังคาร ใน Quarter นี้ สำหรับการอ่านวรรณกรรมนั้น เนื้อหาอาจจะยากไปสำหรับพี่ ป.๑ ครูจึงปรับเปลี่ยนใหม่ โดยให้ลองแยกกลุ่มอ่าน จะมีกลุ่มที่อ่านได้อ่านคล่อง และกลุ่มที่อ่านไม่คล่อง ลองแยกกันอ่านเพื่อช่วยนักเรียนให้สามารถไปพร้อมๆ กันได้ทุกคน หลังจากที่ลองใช้วิธีนี้ ปรากฏว่าตัวครูเองก็สามารถมองเห็นนักเรียนได้มากขึ้น กลุ่มที่อ่านได้อ่านคล่อง ครูเพิ่มเรื่องการสรุปเรื่องในแต่ละย่อหน้าที่อ่าน และหยุดถามความเข้าใจของนักเรียนในตอนที่อ่านบ้าง เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปเรื่องได้ในตอนท้าย ส่วนกลุ่มที่อ่านไม่คล่องครูก็พานักเรียนอ่านไปพร้อมๆ กัน ด้วยเนื้อหาที่อ่านยากบางช่วง ครูอาจจะเล่าบางช่วงบางตอน และพาสรุปเช่นเดียวกัน ครูและครูประจำชั้นจึงคิดจะใช้วิธีนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยให้พี่ ป.๑ อ่านออกเขียนได้ไปพร้อมๆ กัน

    ตอบลบ