เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจ และอธิบายองค์ประกอบของคำ และพยางค์ สามารถอ่าน เขียนคำ พยางค์ รู้จักแยกคำเป็นพยางค์ได้ นำคำที่ได้มาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
๓๐ – ๓
ก.พ.
๒๕๖๐
วรรณกรรมเรื่อง :
- แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน นางเก้งขาว
- คำ พยางค์
หลักภาษา : คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าการรักษาคำพูดสำคัญหรือไม่ เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะรู้ว่าคำเหล่านี้ สามารถแยกเป็นพยางค์ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำศัพท์ในวรรณกรรม
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำ และพยางค์
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ
- บัตรภาพ/บัตรคำ
วันจันทร์
ชง
ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม แม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน นางเก้งขาว ไปพร้อมๆ กัน
เชื่อม
-
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้

นักเรียนเขียนสรุปในรูปแบบ Web หัวข้อ(ตัวละคร ฉาก เรื่องย่อ และข้อคิด)
วันอังคาร
ชง
ครูนำบัตรคำที่ดึงคำมาจากวรรณกรรมแม่เป็นปลา พ่อเป็นน้ำ ตอน นางเก้งขาว มาให้นักเรียนคนละ ๑ ใบ เช่นคำว่า ใบไม้ กำพร้า ดูแล เป็นต้น จากนั้นให้นักเรียนช่วยบอกว่าคำที่ตนเองได้นั้น อ่านอย่างไร ถ้าแยกเป็นคำๆ จะอ่านได้กี่คำ
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกต และช่วยกันวิเคราะห์การอ่านคำ และการแยกคำเป็นพยางค์
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่ร่วมกันวิเคราะห์คำในบัตรคำ ที่แยกได้หลากหลายพยางค์
- นักเรียนเขียนคำในบัตรคำของเพื่อนทั้งหมด พร้อมกับแยกพยางค์ของคำเหล่านั้น

วันพุธ
ชง 
- ครูมีแถบคำที่ไม่สมบูรณ์มาให้นักเรียนดู ลองให้นักเรียนสังเกต พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในแถบคำนี้บ้าง มีตัวใดที่หายไป หรือควรเติมอะไรลงไป ”
     - แบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม เล่นเกมเติมคำให้ถูกต้องจากชาร์ตคำที่ครูเตรียมไว้
เชื่อม 
ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นเกม สังเกตคำและแยกพยางค์ในคำที่ใช้เล่นเกมได้
ใช้ 
นักเรียนเขียนแต่งประโยคจากการเล่นเกมคนละ ๓ ประโยค
วันพฤหัสบดี
ชง 
- ครูทบทวนกิจกรรมที่นำเมื่อวานนี้ และให้นักเรียนอธิบายการสังเกตคำ และพยางค์อีกครั้ง
ครูเขียนคำที่ประกอบไปด้วยพยางค์หลายพยางค์ไว้บนกระดาน
เชื่อม 
ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ครูเขียนไว้ สามารถแยกคำเป็นอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ และการนำไปใช้



ใช้ 
นักเรียนคิดหาคำศัพท์ใหม่ โดยครูกำหนดให้นักเรียนหาคำที่มี ๒ พยางค์ และ ๓ พยางค์ ให้ได้อย่างละ ๑๐ คำ พร้อมกับวาดภาพประกอบ

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง? 
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษาเรื่องคำ และพยางค์

ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การวิเคราะห์คำในวรรณกรรม และช่วยกันแยกพยางค์
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน :
- เขียนสรุปเรื่องแบบ Web
- เขียนคำแยกพยางค์
- เขียนแต่งประโยค
- เขียนคำศัพท์ ๒ พยางค์ และ ๓ พยางค์
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจ และอธิบายองค์ประกอบของคำ และพยางค์ สามารถอ่าน เขียนคำ พยางค์ รู้จักแยกคำเป็นพยางค์ได้ นำคำที่ได้มาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ตัวอย่างภาพกิจกรรม
 
 


 ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๔ ของการเรียนรู้ สัปดาห์นี้ได้แบ่งกลุ่มกันอ่านวรรณกรรมเช่นเคย เพื่อพัฒนานักเรียนได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น เพราะตอนนี้นักเรียนบางส่วนมีปัญหาเรื่องการอ่านเป็นส่วนใหญ่ พอๆ กับการเขียน ซึ่งตอนนี้ครูได้พานักเรียนฝึกเขียนสรุปวรรณกรรมด้วยตนเอง เห็นถึงความพัฒนาด้านการเขียน และคิดวิเคราะห์จากการสรุปวรรณกรรมของนักเรียน จากนั้นในช่วงที่หลักภาษาเรื่องคำ และพยางค์ พานักเรียนอ่านคำ และคิดคำที่มี ๒ พยางค์ และ ๓ พยางค์ หลังจากที่ยกตัวอย่างคำ ปรากฏว่านักเรียนหลายคนสามารถแยกคำได้แล้ว รู้ว่าคำหนึ่งคำนั้นอาจมีได้หลายพยางค์ เป้าหมายของครู คืออยากให้นักเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับคำมากยิ่งขึ้น ให้รู้จักคำที่มีความหมาย ในคำแต่ละคำนั้นมีองค์ประกอบที่เป็นพยางค์ที่ทำให้คำๆนั้นมีความหมายในตัวเอง นักเรียนเริ่มเข้าใจ และสามารถยกตัวอย่างได้อย่างหลากหลาย

    ตอบลบ